ผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องมือแพทย์

 

กระบวนการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ Process Overview
Critical item
เครื่องมือผ่านตัด หรือ เครื่องมือ
ที่ต้องสัมผัสเนื้อเยื่อและเลือด
หรือ สายปัสสวะ
Semi-Critical item
เครื่องมือที่สัมผัสเนื้อเยื่อบุ เช่น
อุปกรณ์ช่วยทางเดินหายใจ
ตรวจภายในสตรี หรือ ปรอทวัดไข้
Non-Critical item
เครื่องมือที่สัมผัส
เฉพาะผิวหนัง ที่ไม่มีบาดแผล

Pre-Cleaning
การล้างคราบเลือดเบื้องต้นเพื่อป้องการแข็งตัวบนผิววัสดุและยับยั้งเชื้อโรค
Cleaning and Rinsing
ขั้นตอนการล้างเครื่องมือแพทย์ น้ำยาที่มีส่วนผสมของเอ็นไซม์ย่อยสลายคราบเลือด
Drying
ทำให้แห้ง เช็ดหรือเป่าลม


Disinfection
การแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ
High Level (ระดับสูง)
Intermediate level(ระดับปานกลาง)
Drying/Storage
ทำให้แห้ง/เก็บรักษา


 
Sterilization
ทำให้ปราศจากเชื้อ เช่น
Autoclave การอบก๊าซ
น้ำยาฆ่าเชื้อระดับ Sterile
Rinsing
ล้างด้วยน้ำสะอาด


Drying/Storage
ทำให้แห้ง/เก็บรักษา
Drying/Storage
ทำให้แห้ง/เก็บรักษา

 

วิธีการทำลายเชื้อโรคแบ่งตามประเภทของเครื่องมือแพทย์

ชนิดเครื่องมือตัวอย่างวิธีทำลายเชื้อตัวอย่างน้ำยาฆ่าเชื้อ
Critical Item
สัมผัสเลือด เนื้อเยื่อระดับลึก
เครื่องมือผ่าตัด ทำแผล
สายสวนหัวใจ สายสวนปัสสาวะ
Sterilization นำเข้า Autoclave,
อบ Gas ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเป็นระยะเวลานานตามกำหนดของ CDC
Glutaraldehyde Otharaldehyde
Peracitric acid with Hydragenperoxide ระยะเวลานาน
Semi-Critical Item
สัมผัสเยื่อบุอ่อน
Flexible endoscopes
Laryngoscopes ET TubeVagina Spectula
High Level disinfection
น้ำยาฆ่าเชื้อระดับสูงทำลาย Spore
ของ Bacteria ได้ ฆ่าเชื้อวัณโรคได้ฆ่าเชื้อได้กว้างขวางครอบคลุมทุกกลุ่ม
Glutaraldehyde Ortho-phthalaldehyde
Peracitric acid with
Hydrogenperoxide

Hydrotherapy tank Intermediate Level
น้ำยาฆ่าเชื้อระดับปานกลางต้องมีผลการฆ่าเชื้อ วัณโรคได้
Tuberculocidal activity
แต่ทำลายSpore ของ Bacteriaไม่ได้
กลุ่ม Alcohol เช่น70-90% ethyl alcohol หรือ Isopropyl Alcohol
กลุ่ม Chlorine compound เช่น Sodium hyphochlorite
กลุ่ม Iodophorขึ้นกับชนิดความเข้มข้น
กลุ่ม Phenolicขึ้นกับชนิดความเข้มข้น
Non Critical
สัมผัสผิวหนังภายนอก
Stethoscopes
เครื่องวัดความดันโต๊ะ เตียง

Low Level Disinfectant
น้ำยาฆ่าเชื้อระดับต่ำฆ่าเชื้อ วัณโรคไม่ได้

กลุ่ม Quarternary ammonium compounds
กลุ่ม Iodophorขึ้นกับชนิดความเข้มข้น
กลุ่ม Phenolic ขึ้นกับชนิดความเข้มข้น

การแบ่งชนิดของน้ำยาฆ่าเชื้อ(ระดับสูง/กลาง/ต่ำ)ตามประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ

C:\Users\Green Family\Documents\aGreenfamilyProduct\OrganismSusceptability_USA.png

กรุณาอ่านก่อนปฎิบัติงาน

เทคนิคการล้างเครื่องมือแพทย์

การล้างอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ขั้นตอนแรกที่จะต้องดำเนินการก่อนที่จะนำอุปกรณ์ไปทำลายเชื้อหรือทำให้ปราศจากเชื้อ หากการทำความสะอาดอุปกรณ์ไม่ดีพอ จะส่งผลให้กระบวนการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อไม่มีประสิทธิภาพ

การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อาจทำได้โดยการล้างด้วยมือ (manual washing) หรือล้างด้วยเครื่องล้าง (automatic washers) หลังจากเสร็จสิ้นการล้างทำความสะอาดด้วยสบู่หรือสารขัดล้างแล้ว ควรล้างอุปกรณ์ด้วยน้ำสะอาดจนหมดคราบสบู่หรือสารขัดล้าง เพราะคราบสบู่ที่ติดอยู่บนอุปกรณ์จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย และยังส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อลดต่ำลง

การล้างเครื่องมือควรเลือกใช้สารขัดล้างที่เหมาะสมกับเครื่องมือ น้ำยาล้างที่ผสมเอ็นไซม์ที่เรียกว่า enzymatic detergent จะช่วยให้การล้างเครื่องมือสะดวกและง่ายขึ้น น้ำยาที่ใช้ล้างเครื่องมือผ่าตัดควรมีสภาพความเป็นกลาง เพื่อป้องกันการกัดกร่อน ควรใช้แปรงขัดถูเครื่องมือทีละชิ้น ขณะที่ขัดถู  ควรขัดใต้น้ำ

ข้อควรรู้
- เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อ เช่น สายสวน เข็มฉีดยา ท่อต่างๆ รวมทั้งกล้องส่องตรวจอวัยวะภายใน การล้างจะต้องล้างภายในท่อให้หมดด้วย เลือด สารน้ำ หรือสารคัดหลั่งอาจแห้งอยู่ภาย ในท่อ ทำให้ล้างออกยาก จึงควรแช่อุปกรณ์ประเภทนี้ใน enzymatic detergent เพื่อช่วยให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดออกจากเครื่องมือได้ง่ายขึ้น ควรจะล้างทำความสะอาดจนกระทั่งน้ำที่ไหลผ่านท่อออกมาใส อาจใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ช่วยขจัดคราบเลือดหรือสารคัดหลั่งที่ติดอยู่ โดยฉีดน้ำยาเข้าไปในท่อ หากมีคราบเลือดติดอยู่ภายในท่อ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับเลือด เกิดเป็นฟองอากาศให้เห็น ควรทำความสะอาดจนกระทั่งไม่มีฟองเกิดขึ้น แล้วจึงล้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ออกให้หมด 
- อุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกอาจเสียหรือเสื่อมสภาพได้ง่ายจากการสัมผัสกับสารขัดล้างที่มีความเข้มข้นสูง อุณหภูมิสูง น้ำยาทำลายเชื้อ หรือจากหลายสิ่งรวมกันทำให้อุปกรณ์มีรอยแตกหรือเปลี่ยนสีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอลกอฮอล์และฟีนอล ไม่ควรใช้กับอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกโดยเด็ดขาด
- เครื่องมือผ่าตัดที่มีขนาดเล็ก เปราะบาง ชำรุดง่าย ควรล้างทำความสะอาดด้วยมือ และตรวจสอบดูว่าไม่มีคราบสิ่งสกปรกติดอยู่ อาจล้างทำความสะอาดโดยใช้เครื่องอุลตร้าโซนิคหากบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแนะนำว่าใช้ได้

 

ข้อควรระวังในการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ

1.ขั้นตอนการล้างไม่สะอาด น้ำยาที่ใช้ล้างคราบเลือดออกไม่หมด

2.ไม่เช็ดเครื่องมือให้แห้ง ก่อนแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ

3.วิธีการแช่ไม่ถูกต้อง ทั้งความเข้มข้นและระยะเวลาแช่

4.การล้างน้ำออกไม่หมด

5.ใช้น้ำยาสูตรร่วมระหว่าง น้ำยาฆ่าเชื้อที่ผสมน้ำยาทำความสะอาด  

 โดยมากไม่มี Enzyme จึงไม่สามารถล้างคราบเลือด ได้หมด สะดวกแต่เสี่ยงมาก

Visitors: 63,941